กล่องข้อความ: 		7-50100-001-178  		  ชื่อพื้นเมือง	:  โมกบ้าน,โมกลา, โมกซ้อน,โมก  ชื่อวิทยาศาสตร์	:  Wrightia religiosa Benth.  ชื่อวงศ์	:  APOCYNACEAE  ชื่อสามัญ	:  Moke  ประโยชน์	:  ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไป สรรพคุณทางด้านสมุนไพร ราก ใช้ผสมเป็นยารักษาผิวหนังจำพวกโรคเรื้อน คุดทะราด รากผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ใช้รักษาโรคผิวหนัง

บริเวณที่พบ : สวนหิน
ลักษณะพิเศษของพืช : ดอกมีกลิ่นหอม
ชื่ออื่นๆ : โมกกอ โมกซ้อน โมกน้ำ (ภาคกลาง) หลักป่า (ระยอง)
ลักษณะทั่วไป : ไม้พุ่มขนาดกลาง ไม่ผลัดใบ
ต้น : เรือนยอดแผ่กว้าง เปลือกสีน้ำตาล มีจุดประสีขาวขนาดเล็กทั่วไป ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาว
แตกกิ่งต่ำใกล้ผิวดินเป็นลำต้นจำนวนมาก
ใบ :ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม  ใบรูปรีหรือรูปใบหอก กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร. ยาว 3-6 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบแหลมหรือมน ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวอมเหลืองถึงเขียวอ่อน
ดอก : สีขาว  กลิ่นหอมเย็น  ออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกห้อยลงบริเวณซอกใบที่ปลายกิ่ง ช่อละ 2-8 ดอก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน   มีทั้งดอกชั้นเดียว(โมกลา)  และขนิดที่มีกลีบดอกเรียงซ้อนกัน(โมกซ้อน) กลีบดอกรูปไข่ โคนกลีบดอกเชื่อมกันเล็กน้อย 
ปลายแยกเป็น 5-16 แฉก  ดอกบานเต็มที่กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร
ผล : ผลแห้ง เป็นฝักคู่ปลายโค้งเข้าหากัน ยาว 10-15 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดจำนวน-มาก  มีขนสีขาวเป็นกระจุกที่ปลาย 
ชนิดดอกลาจะติดฝักได้ดีกว่าชนิดดอกซ้อน
ขยายพันธุ: เมล็ด ตอนกิ่งราก ผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ใช้รักษาโรคผิวหนัง
ประโยชน์ :  รากแก้วโรคผิวหนัง เรื้อน คุดทะราด แก้โรคผิวหนัง

ลักษณะวิสัย
ลำต้น

กลับหน้าหลัก
ใบ
ดอก

 

สรุปลักษณะและข้อมูลพรรณไม้
ชื่อพรรณไม้   โมกบ้าน , โมกลา , โมกซ้อน    รหัสพรรณไม้   7-50100-001-178